สิ้นสุดการรอคอย กับสถิติการใช้งานดิจิทัล (Digital) ของประเทศไทย ปี 2025 สถิตินี้เกิดจากการเก็บรวบรวมข้อมูลของ We Are Social (https://wearesocial.com) และ MeltWater (https://www.meltwater.com) ที่ทำการเก็บข้อมูลการใช้งานดิจิทัลของทั่วโลก ในทุก ๆ ปี และตอนนี้ ก็มาถึงสถิติของประเทศไทยของเราบ้าง มาดูกันว่า พฤติกรรมการใช้งาน Digital ในประเทศไทย ในยุคนี้เป็นอย่างไร

จำนวนประชากรของประเทศไทยในปีนี้ มีประมาณ 71.6 ล้านคน โดยมีอัตราลดลงจากการเก็บข้อมูลของปีก่อนหน้า -0.06% ประกอบไปด้วย ประชากรผู้หญิง 51.3% และผู้ชาย 48.7% ซึ่งอายุของคนไทยส่วนใหญ่อยู่ที่ 40.6 ปี

จากจำนวนประชากร 71.6 ล้านคน ถ้าแบ่งตามช่วงอายุของกลุ่มเป้าหมายในการจัดการโฆษณา (อ้างอิงตามกลุ่มเป้าหมายในการโฆษณาบน Facebook) จะสามารถแบ่งได้ ดังนี้
- กลุ่มที่ 1 อายุ 0 – 19 ปี มีจำนวนประมาณ 14.58 ล้านคน คิดเป็นประมาณ 20.2%
- กลุ่มที่ 2 กลุ่มอายุ 20 – 24 ปี มีจำนวนประมาณ 4.66 ล้านคน คิดเป็นประมาณ 6.5%
- กลุ่มที่ 3 อายุ 25 – 34 ปี จำนวนประมาณ 10.04 ล้านคน คิดเป็น 14%
- กลุ่มที่ 4 อายุ 35 – 44 ปี จำนวนประมาณ 10.2 ล้านคน คิดเป็น 14.3%
- กลุ่มที่ 5 อายุ 45 – 54 ปี จำนวนประมาณ 10.6 ล้านคน คิดเป็น 14.7%
- กลุ่มที่ 6 อายุ 55 – 64 ปี จำนวนประมาณ 10.09 ล้านคน คิดเป็น 14.1%
- กลุ่มที่ 7 อายุ 65 ปีขึ้นไป จำนวนประมาณ 12.47 ล้านคน คิดเป็น 16.2%

ประเภทของเว็บไซต์ที่เข้าเยี่ยมชมและแอปพลิเคชันที่คนไทยใช้งานสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ อันดับแรกคือเว็บไซต์และแอปประเภท การพูดคุยและส่งข้อความ อันดับถัดมาคือประเภทโซเชียลเน็ตเวิร์ค และอันดับสามคือ ประเภทอีเมล และยังพบว่า เว็บไซต์ 3 อันดับแรกที่คนไทยเข้าเยี่ยมชมสูงที่สุด จากการจัดอันดับของ Similar Web ได้แก่ Google.com, Youtube.com และ Facebook.com นอกจากนี้ แอปพลิเคชันที่มีจำนวนผู้ใช้งานที่ยังคงใช้งานอยู่สูงที่สุด 3 ดับแรก ได้แก่ Facebook, Youtube และ LINE

คนไทยส่วนใหญ่ เข้าถึงข้อมูลทางออนไลน์ จากการค้นหาผ่านเครื่องมือในการค้นหา เช่น Google, Bing สูงถึง 89.0% นอกจากนี้ยังพบว่ามีการใช้เสียงช่วยในการค้นหา เช่น SIRI, Google Assistant จำนวน 17.0% มีการเข้าเยี่ยมชมโซเชียลเน็ตเวิร์คเพื่อมองหาข้อมูลของแบรนด์และสินค้า จำนวน 44.4% ใช้เครื่องมือค้นหารูปภาพ เช่น Google Lens จำนวน 32.4% ค้นหาข้อมูลผ่านการสแกน QR Code จากโทรศัพท์มือถือ จำนวน 61.5% และ ใช้เครื่องมือในการแปลภาษาออนไลน์ จำนวน 43.8%

Google Chrome ยังคงครองแชมป์ในการส่งผู้คนไปยังเว็บไซต์ปลายทาง โดยมีสัดส่วนถึง 97.10% รองลงมาคือ Bing จำนวน 1.59% และอันดับสามคือ Yahoo! จำนวน 0.99%

ข้อความค้นหาผ่าน Google Searches ที่สูงที่สุดเป็นอันดับแรกได้แก่ “หนัง” อันดับสองคือ “แปล” และอันดับสามคือ “ผล บอล”

ในส่วนของหมวดหมู่ของอีคอมเมิร์ซ ที่มีผู้บริโภคซื้อ 3 อันดับแรก ได้แก่ ความงามและการดูแลสุขภาพ 3,780 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ รองลงมาคือ หมวดหมู่อาหาร จำนวน 3,630 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ และอันดับสามคือ อิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 3,380 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ

และปัจจัยที่ช่วยทำให้ตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการผ่านระบบออนไลน์ ได้แก่ “ส่งฟรี” จำนวน 60.3% อันดับสอง คือ “คูปองและส่วนลด” จำนวน 57.9% และอันดับสาม ได้แก่ “บริการชำระเงินเมื่อได้รับสินค้า” จำนวน 35.1%

การใช้งานโซเชียลมีเดียในประเทศไทย พบว่า มีจำนวนผู้ใช้งานโซเชียลมีเดีย จำนวน 51 ล้านคน ซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา ประมาณ 1,900,000 คน หรือมีจำนวนเพิ่มขึ้น 3.8% โดยมีค่าเฉลี่ยในการใช้งานโซเชียลมีเดีย 2 ชั่วโมง 32 นาทีต่อวัน

กลุ่มเป้าหมายของผู้คนที่ใช้งานโซเชียลมีเดีย (แบ่งตามกลุ่มเป้าหมายในการโฆษณาของเฟซบุ๊ก) พบว่า ช่วงอายุ 25-34 ปี เป็นกลุ่มที่มีอัตราการใช้งานโซเชียลมีเดีย สูงที่สุด รองลงมา คือ ช่วงอายุ 35-44 ปี

โดยเหตุผลในการใช้งานโซเชียลมีเดียในประเทศไทย อันดับแรก คือ การรักษาความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนและครอบครัว อันดับสองคือ การอ่านข่าวและเรื่องราวต่าง ๆ และอันดับสามคือ ดูการพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ที่สนใจ

ในปี 2025 นี้ ยังพบว่า แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่ถูกใช้งานสูงที่สุด อันดับหนึ่งยังคงเป็น Facebook 0eo;o 90.7% รองลงมาคือ LINE จำนวน 90.6% และอันดับ 3 ได้แก่ TikTok จำนวน 85.7%

ส่วนโซเชียลมีเดียที่ครองใจคนไทย 3 อันดับแรก ได้แก่ TikTok มีจำนวน 32.7% ลำดับที่สองคือ Facebook จำนวน 29.5% และลำดับที่สามคือ LINE จำนวน 13.7%

นอกจากนี้ ยังพบว่า แอปพลิเคชันโซเชียลมีเดีย ที่มีค่าเฉลี่ยเวลาในการใช้งานของผู้ใช้งาน สูงที่สุด 3 อันดับแรก คือ Youtube เวลาเฉลี่ย 42 ชั่วโมง 14 นาที ถัดมาคือ TikTok เวลาเฉลี่ย 37 ชั่วโมง 40 นาที และอันดับสาม คือ Facebook เวลาเฉลี่ย 16 ชั่วโมง 23 นาที

รายละเอียดการใช้งานของแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียในประเทศไทย ได้แก่ LINE มีจำนวนผู้ใช้งานที่ยังคงใช้งานอยู่ จำนวน 56 ล้านผู้ใช้งาน แบ่งเป็นผู้หญิง 46% และ ผู้ชาย 54%

กลุ่มเป้าหมายในการโฆษณาของแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย ที่สูงที่สุดของประเทศไทยในปี 2025 นี้ อันดับที่หนึ่ง ได้แก่ เฟซบุ๊ก สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในการโฆษณาได้จำนวน 51 ล้านคน โดยช่วงอายุที่มีจำนวนกลุ่มเป้าหมายในการโฆษณาสูงที่สุด ได้แก่ ช่วงอายุ 25-34 ปี


อันดับสอง ได้แก่ Youtube เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในการโฆษณาได้ 47.6 ล้านคน โดยมีช่วงอายุของกลุ่มเป้าหมายที่สูงที่สุดค่อนข้างกว้าง ได้แก่ ช่วงอายุ 25-54 ปี


อันดับสาม ได้แก่ Messenger เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในการโฆษณา ได้จำนวน 35.9 ล้านคน โดยช่วงอายุของกลุ่มเป้าหมายในการโฆษณาที่สูงที่สุด ได้แก่ ช่วงอายุ 25-34 ปี


อันดับสี่ ได้แก่ TikTok เข้าถึงได้ 34 ล้านคน และกลุ่มเป้าหมายในการโฆษณาบน TikTok สามารถเข้าถึงได้สูงทุกช่วงอายุ ตั้งแต่ 18-55 ปีขึ้น


และอันดับห้า ได้แก่ Instagram เข้าถึงได้จำนวน 18.5 ล้านคน โดยช่วงอายุของกลุ่มเป้าหมายในการโฆษณาที่เข้าถึงได้สูงที่สุด ได้แก่ช่วงอายุ 25-34 ปี


ภาพรวมด้าน Digital Marketing ของประเทศไทย พบว่า แหล่งที่มาในการค้นพบแบรนด์ 3 อันดับแรกได้แก่ การค้นหาผ่านเครื่องมือในการค้นหา หรือ Search Engine อันดับที่ 2 ได้แก่ โฆษณาผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ และ อันดับ 3 ได้แก่ โฆษณาบนทีวี

ส่วนช่องทางหลักในการค้นหาแบรนด์ผ่านออนไลน์ 3 อันดับแรก ได้แก่ การค้นหาผ่าน Search Engine รองลงมาคือ ผ่านแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือ และ อันดับ 3 คือการค้นเจอผ่าน โซเชียลเน็ตเวิร์ค

นอกจากนี้ก็ยังมีข้อมูลเชิงลึกที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานดิจิทัลในประเทศไทย ประจำปี 2025 อีกหลายหัวข้อที่น่าสนใจ สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://datareportal.com/reports/digital-2025-thailand